เกอิชา คืออะไรกันแน่? แตกต่างจากโออิรันตรงไหนกันนะ! l Artralux

เกอิชา หญิงสาวผัดหน้าสีขาว ทาปากสีแดง สวมใส่ชุดกิโมโนที่มีลวดลายสวยงามและสวมรองเท้าเกี๊ยะที่มีความสูงกว่าปกติที่แสดงต่อสายตาชาวโลกนั้นแท้ที่จริงแล้วหน้าที่ของเกอิชาคืออะไรกันแน่ ความหมายของเกอิชาคืออะไรกันแน่ ก่อนจะมาเป็นเกอิชาที่สมบูรณ์แบบหญิงสาวเหล่านั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างไรบ้าง วันนี้ Artralux บริษัทนำเที่ยวชั้นนำ จะมาเปิดตำนานหญิงสาวขายวัฒนธรรม มนตร์เสน่ห์อันลึกลับที่เล่าขานกันจนเป็นตำนานที่หาได้เพียงบนเกาะญี่ปุ่นที่เดียวเท่านั้น

เที่ยวญี่ปุ่น

สนใจไป ทัวร์ญี่ปุ่น ให้นึกถึง Artralux

แอดไลน์เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

เพิ่มเพื่อน

 

ความงดงามของเกอิชา
ขอขอบคุณรูปภาพจาก :chillchilljapan.com

 

สารบัญ

ความหมายของ “เกอิชา” (芸者)

คำว่าเกอิชามาจากคำศัพท์คำว่า Gei (げい) ที่แปลว่า ศิลปะ และ Sha(しゃ) ที่แปลว่า บุคคล ทำให้ความหมายของเกอิชามีความหมายว่าบุคคลที่มีศิลปะหรือเรียกเป็นภาษาไทยให้เข้าใจง่ายว่า “ศิลปิน”  ต่างจากความหมายที่หลายๆ คนเข้าใจโดยสิ้นเชิง เกอิชา เป็นผู้ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเพื่อให้ความบันเทิงในงานเลี้ยง งานสังสรรค์ต่างๆ รวมไปถึงการปรนนิบัติแขกในงานแต่ไม่ได้หมายความถึงการปรนนิบัติในความหมายทางด้านชู้สาวแต่อย่างใด ในงานเลี้ยงของบุคคลที่มีฐานะมักจะพบเห็นเกอิชาทำการแสดงต่างๆ และดูแลแขกในงานให้ได้รับความสะดวกสบายในการสังสรรค์ ซึ่งนับว่าเป็นมนตร์เสน่ห์ที่มีเฉพาะเกาะญี่ปุ่นที่เดียวในโลกเท่านั้น

 

เกอิชาในปัจจุบัน

 

ความเป็นมาของเกอิชาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

สตรีที่งามสง่าที่สวมใส่ชุดกิโมโนที่หรูหรานั้นมีเรื่องราวที่เป็นตำนานเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของเกอิชาในสมัยเอโดะ เกอิชาในยุคนั้นล้วนแต่เป็นผู้ชายที่มีคำเรียกว่า ไทโคะโมะชิ หรือ โฮกัง มีหน้าที่ให้ความบันเทิงอยู่ในงานสังสรรค์หรือโรงน้ำชา เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิเกอิชาผู้ชายก็เริ่มหายไปและถูกแทนที่ด้วยเกอิชาที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด สำนักเกอิชาหรือที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โอกิยะ ซึ่งมีมากในย่านฮาจิมะ (เมืองแห่งดอกไม้) ในเมืองเกียวโต อันเป็นเมืองหลวงที่เก่าแก่ของญี่ปุ่นที่มีศิลปวัฒนธรรมโบราณหลงเหลืออยู่มากมายและยังคงเป็นย่านที่มีเกอิชาให้พบเห็นอยู่บ้าง และเมืองฮานะมาจิ อันเป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวที่ให้ความสนใจในมนตร์เสน่ห์ของเกอิชานิยมไปท่องเที่ยวกันอีกด้วย

 

เกอิชาที่เกียวโต

 

ขั้นตอนการเป็นเกอิชา

การมาเป็นเกอิชาไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะนอกจากจะต้องเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ อย่างลึกซึ้งแล้วยังต้องเรียนรู้ธรรมเนียมปฏิบัติแบบเฉพาะของเกอิชาอย่างถูกต้องด้วย ดังนั้นการเป็นเกอิชาที่สมบูรณ์แบบมักมีการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็ก บางคนได้รับการฝึกฝนตั้งแต่อายุ 5 – 6 ปีเลย โดยมีลำดับขั้นในการฝึกฝนแยกได้ ดังนี้

 

1. ชิโคมิ ( 仕込み)

เป็นลำดับขั้นแรกสำหรับการฝึกฝนโดยที่การเป็นชิโคมิจะกินเวลาประมาณ 1 ปี มีหน้าที่เหมือนเป็นเด็กรับใช้ในสำนักเกอิชา ต้องช่วยทำงานบ้าน รับใช้คนในสำนักโดยที่ไม่ได้เงินเดือนแต่จะมีค่าขนมให้เพื่อใช้จ่ายส่วนตัวบ้างแต่ก็ไม่มากนัก การเรียนรู้เริ่มตั้งแต่การพูดจาและการเรียนรู้พื้นฐานที่เกอิชาต้องรู้ไม่ว่าจะเป็นการร่ายรำ ดนตรี ชงชา และการจัดดอกไม้ เป็นต้น

 

เด็กผู้หญิงที่เป็นไมโกะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : designyoutrust.com

2. มินาไร (見習い)

ขั้นต่อไปของการฝึกฝน เพื่อเป็น มินาไร มักจะใช้เวลาสั้นๆ เพียง 1 เดือน หน้าที่ที่ต้องทำคือการติดตามรุ่นพี่ที่เป็นเกอิชาไปตามงานเลี้ยงต่างๆ เพื่อเรียนรู้ภาคสนามก่อนเข้าการฝึกจริงจังและจะมีการประเมินจากรุ่นพี่ว่าพร้อมที่จะได้รับการฝึกฝนจริงจังหรือยัง

 

3. ไมโกะ (舞妓)

ชื่อที่เราคุ้นเคยพอๆ กับเกอิชา ไมโกะคือเกอิชาฝึกหัด มีการเรียนรู้ทุกสิ่งที่เกอิชาต้องรู้ละเอียดขึ้นและมีการออกงานกับรุ่นพี่เพื่อแสดงตัวว่าเป็นไมโกะมากขึ้น ลำดับขั้นนี้เป็นลำดับขั้นที่มีความเหน็ดเหนื่อยที่สุดเพราะต้องเรียนทุกสิ่งทุกอย่างมากขึ้นและต้องเรียนรู้การเป็นเกอิชาที่สมบูรณ์แบบอย่างละเอียด ไม่นับการติดตามรุ่นพี่ไปออกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานสม่ำเสมอ และในแต่ละปีจะมีการแสดงรวมของไมโกะต่อสายตาสาธารณชนเรียกว่า โอโดริ (おどり) ในการแสดงแต่ละครั้งจะมีการคัดเลือกไมโกะที่มีความสามารถโดดเด่นมาเป็นผู้นำดังนั้นก่อนมีการแสดงเหล่าไมโกะจะมีการฝึกซ้อมอย่างหนัก การได้รับเลือกเป็นผู้นำการแสดงนั้นจะเป็นการปูเส้นทางของการเป็นเกอิชาที่มีชื่อเสียงในอนาคต

 

เหล่าไมโกะ เกอิชาฝึกหัด
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : designyoutrust.com

 

แอดไลน์เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

เพิ่มเพื่อน

 

ความแตกต่างระหว่างเกอิชากับไมโกะ

ไมโกะก็คือเกอิชาฝึกหัด ไมโกะจะเหมือนกับเกอิชาเกือบทุกอย่างแต่จะมีการแต่งตัวที่แตกต่างกันโดยที่ไมโกะจะมีการประดับศีรษะด้วยเครื่องประดับเยอะกว่าเกอิชา ทรงผมของไมโกะจะมีการใช้ผมของตัวเองจัดทรงแต่เกอิชาจะมีการใช้วิกมาประกอบการทำทรงผมและการแต่งกายของไมโกะจะมีสีสันมากกว่าเกอิชา สายโอบิที่ผูกอยู่ทางด้านหลังจะถูกปล่อยห้อยลงมา ยิ่งมีอายุน้อยเท่าไรชุดยิ่งมีสีสันมากยิ่งขึ้น สมัยก่อนการเข้าเป็นเกอิชามักได้รับการฝึกฝนตั้งแต่ยังเด็กแต่ตอนนี้ญี่ปุ่นมีการออกกฎมาว่าเด็กสาวที่ต้องการเดินทางสายเกอิชาต้องมีอายุ 16 ปีบริบูรณ์และต้องมีความเต็มใจที่จะเป็นเกอิชาจริงๆ เท่านั้น

 

ความแตกต่างของเกอิชากับไมโกะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Dek-d.com

 

สิ่งที่เกอิชาต้องเรียนรู้ก่อนออกงานครั้งแรก

อย่างที่กล่าวให้ฟังข้างต้นว่าเกอิชาเป็นศิลปินที่ขายความสวยงามของกิริยาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นการร่ายรำ พิธีชงชา การจัดดอกไม้ หรือกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่มีขั้นตอนซับซ้อนอย่างมาก สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเกอิชาจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพื่อเตรียมตัวในการออกงานครั้งแรกให้สมกับคำว่าศิลปิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นยกตัวอย่าง เช่น

 

1.การร่ายรำต่างๆ

การร่ายรำที่เกอิชาต้องฝึกฝนและต้องทำการแสดงในงานเลี้ยงนั้น ยกตัวอย่างเช่น รำพัด การร่ายรำในแบบฉบับของเกอิชาที่มีการรวมเอาละครโนมาผสมผสานกับคาบุกิให้มีเสน่ห์ที่เป็นเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น การร่ายรำของเกอิชาจะเน้นการสื่อสารกับผู้ชมผ่านการแสดงออกทางร่างกายอย่างตรงไปตรงมาซึ่งทุกการร่ายรำจะมีการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อที่จะให้การแสดงออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด

 

การแสดงของเกอิชาฝึกหัด
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Blogspot.com

2.การเล่นเครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับงานเลี้ยงและเกอิชาก็ต้องเรียนรู้การบรรเลงเครื่องดนตรีโบราณต่างๆ เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับงานเลี้ยงเหล่านั้นโดยที่เครื่องดนตรีหลักๆ คือ เครื่องสายอย่าง ขลุ่ย,ซามิเซ็ง, กลองเล็ก, กลองใหญ่, กลอง Ko-tsuzumi, เครื่องสาย Koto และอาจจะมีเครื่องดนตรีอื่นๆ อีก

 

เกอิชาเล่นเครื่องดนตรีซามิเซ็ง

3.พิธีการชงชา

พิธีการนี้เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่เกอิชาจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้ ทุกขั้นตอนของการชงชาจำเป็นต้องทำอย่างถูกต้อง ซึ่งความละเอียดและสง่างามเป็นการแสดงออกถึงการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีที่จะเป็นเกอิชาที่สมบูรณ์แบบ นอกจากขั้นตอนของการชงชาแล้วเกอิชาควรที่จะต้องบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีชงชาได้อย่างถูกต้องให้สมกับเป็นหญิงที่ขายวัฒนธรรมที่ดีงามของญี่ปุ่น

 

เกอิชาในพิธีชงชา

4.วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น

นอกจากการร่ายรำและการบรรเลงดนตรีในงานเลี้ยงแล้วเกอิชาบางคนยังมีการฝึกฝนเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นของญี่ปุ่นอื่นๆ เช่น การเขียนพู่กัน การจัดดอกไม้ การแต่งกลอนหรือเพลง ซึ่งวัฒนธรรมต่างๆ มีขั้นตอนเฉพาะที่เกอิชาจะได้เรียนรู้เป็นเหมือนฟังก์ชันในการบริการให้กับแขกที่มีความหลงใหลในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

5.กิริยามารยาทในการปรนนิบัติแขก

เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของเกอิชาที่จะทำให้เหล่าแขกในงานประทับใจคือ กิริยามารยาทที่สง่างามและวาจาที่เปล่งออกไป เกอิชามีหน้าที่ทำให้งานเลี้ยงดูมีสีสันการพูดคุยกับแขกจึงเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เป็นอย่างมาก เสน่ห์ของเกอิชาบางคนคือเป็นคนที่คุยสนุกสนานและทำให้แขกได้ผ่อนคลายเต็มที่ รวมไปถึงการรินเหล้า การดูจังหวะในการขอเพิ่มเครื่องดื่มหรืออาหาร ซึ่งเรียกได้ว่าดูแลอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้กับแขกอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง การกระทำเล่านี้จะทำให้เกอิชาคนนั้นๆ เป็นที่ต้องการของแขกมากยิ่งขึ้น

 

เกอิชารินเหล้าให้แขกในงานเลี้ยง / เกอิชาฝึกการร้องเพลง
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Blogspot.com

 

เกอิชา กับ หญิงโสเภณี (โออิรัน(花魁)) ต่างกันอย่างไร

คำถามที่ผู้คนมากมายให้ความสนใจอย่างมากและเป็นสิ่งที่หลายๆ คนเข้าใจผิดกันอยู่ว่าเกอิชาก็เหมือนหญิงโสเภณีนั้นแหละ แต่ที่จริงแล้วความแตกต่างของเกอิชาและหญิงโสเภณีนั้นมีค่อนข้างมาก ยกตัวอย่างเช่น

 

1.เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับที่แตกต่างกัน

เครื่องแต่งกายของเกอิชากับโออิรันนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เกอิชาจะมีการสวมใส่กิโมโนที่ทำด้วยผ้าไหมลวดลายสวยงามและมีราคาแพงที่มีการผูกโอบิอยู่ทางด้านหลัง มีการประดับศีรษะเล็กน้อยพอสวยงาม รองเท้าเกี๊ยะที่มีความสูงพอดิบพอดี แต่โออิรันนั้นมีการแต่งกายด้วยกิโมโนที่ค่อนข้างมีสีสันฉูดฉาดโอบิจะเป็นการผูกอยู่ที่ด้านหน้า การประดับทรงผมที่อลังการ บางคนต้องแยกเครื่องประดับศีรษะถึง 5 กิโลกรัมเลยทีเดียวและสวมใส่รองเท้าเกี๊ยะที่สูงปรี้ดเพื่อเสริมความโดดเด่นให้กับตัวเอง

 

2.การแสดงในงานเลี้ยง

เกอิชากับโออิรันมีหน้าที่สร้างสีสันให้กับงานเลี้ยงด้วยการร่ายรำ การร้อง การบรรเลงเพลงเช่นเดียวกันเพียงแต่เกอิชาจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอื่นๆ แสดงให้เห็นความเหนือชั้นของเกอิชาที่มีมากกว่าโออิรัน เพราะโออิรันจะมีการเรียนรู้เพียงแค่กิจกรรมที่สร้างความบันเทิงเท่านั้น ส่วนน้อยที่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่นๆ  เพราะไม่ต้องออกงานเพื่อโชว์ความสามารถอะไร

 

3.รูปแบบของการปรนนิบัติแขก

ทั้งเกอิชาและโออิรันมีการดูแลอำนวยความสะดวกให้แขกเหมือนๆ กันเพียงแต่ว่าเกอิชาจะมีการปรนนิบัติให้แขกทั้งหญิงและชายที่เข้าร่วมงานเลี้ยงและไม่มีการปรนนิบัติทางเพศเหมือนกับโออิรันที่มีการรับแขกได้เรื่อยๆ เป็นสาเหตุที่โอบิของโออิรันมีโอบิอยู่ด้านหน้า เพื่อความสะดวกสบายในการถอดออกนั่นเอง

 

ความแตกต่างกันของเกอิชาและโอยรัน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : facebook.com

 

การประมูลความบริสุทธิ์ของเกอิชา

อีกข้อหนึ่งที่ทำให้เกอิชาแตกต่างกับโออิรันอย่างสิ้นเชิงก็คือ เกอิชาจะมีการ “ประมูลความบริสุทธิ์” และพิธีการนี้จะมีเพียงเกอิชาเท่านั้น พิธีการนี้มีขึ้นเพื่อหาผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของเกอิชาเหมือนการเดบิวต์ว่าจะเป็นเกอิชาเต็มตัวแล้วนะ และเกอิชาจะมีแต่ผู้สนับสนุนที่ประมูลมีความสัมพันธ์ครั้งแรกได้เท่านั้นที่จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ โดยที่การออกงานสร้างความบันเทิงอื่นๆ เกอิชายังทำตามปกติ เกอิชาในสมัยก่อนมักเป็นเด็กสาวที่ถูกขายให้สำนักเกอิชาดังนั้นการประมูลความบริสุทธิ์จึงเป็นความหวังที่พวกเธอจะได้เงินมาไถ่ตัวและชดใช้ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่างๆ ที่สำนักจ่ายให้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเป็นหนี้สำนักไปตลอดชีวิต

 

การแสดงการร่ายรำโดยเกอิชา

 

นอกจากการประมูลความบริสุทธิ์แล้วเหตุที่ต้องมีการประมูลครั้งแรกของการมีสัมพันธ์กับผู้ชายคือ การเป็นเกอิชามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงไม่ว่าจะเป็นชุดกิโมโน ที่มีราคาแพง เครื่องประดับ เครื่องสำอางและเครื่องดนตรีต่างๆ ซึ่งยังไม่รวมค่าเล่าเรียนต่างๆ ที่เกอิชาต้องเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ การออกงานเลี้ยงเพียงอย่างเดียวมักจะไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายพวกนี้ ซึ่งการมีผู้สนับสนุนจึงเปรียบเหมือนการมีสปอนเซอร์คอยให้ความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้

 

ในสมัยก่อนชายใดที่มีเกอิชาข้างกายมากๆ ยิ่งดูเป็นคนที่มีฐานะมากเพราะในการประมูลความบริสุทธิ์แต่ละครั้งต้องประมูลแข่งกับคนมีฐานะคนอื่น และการที่คนคนหนึ่งจะสามารถดูแลค่าใช้จ่ายของหญิงสาวที่นอกจากภรรยาได้นั้น ต้องมีฐานะดีไม่ลำบากเรื่องเงินทอง ดังนั้นในสมัยก่อนเกอิชาจึงเปรียบเสมือนเครื่องประดับของชายผู้มีฐานะ ชายผู้มีอิทธิพลและมีชื่อเสียงในเมืองนั้นๆ มากเลยทีเดียว

 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเกอิชา

นอกจากความเป็นมาของเกอิชาและความแตกต่างของเกอิชากับโออิรันที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ยังมีเกร็ดความรู้เล็กๆ ของเกอิชาที่จะมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติม

 

1.ทำไมเกอิชาต้องทาใบหน้ามีสีขาว

เนื่องจากในงานเลี้ยงสมัยก่อนมีการใช้แสงเทียนแทนแสงไฟ เกอิชาจึงจำเป็นต้องแต่งหน้าสีขาวเพื่อที่เมื่อสะท้อนแสงจากเทียนไขจะเห็นใบหน้าได้ชัดเจนและมีความโดดเด่นมากกว่าคนอื่นๆ

 

2.ทำไมไมโกะสมัยก่อนมีอายุน้อยมากๆ

สมัยก่อนเด็กที่มาอยู่ในสำนักเกอิชาจะเข้ามาเพราะที่บ้านมีฐานะยากจน จึงถูกขายให้มารับใช้อยู่ที่สำนักเกอิชาตั้งแต่ยังเด็ก จึงทำให้ไมโกะหรือเกอิชาฝึกหัดสมัยก่อนถูกฝึกฝนตั้งแต่ 5-6 ขวบ

 

3.เกอิชาแต่งงานได้ไหม

สมัยก่อนเกอิชาที่ถูกประมูลความบริสุทธิ์ไปแล้วจะต้องเป็นสมบัติของผู้ที่ประมูลได้ไปตลอดชีวิตแต่ในปัจจุบันเกอิชาสามารถแต่งงานได้เพราะจัดเป็นอาชีพเพียงอาชีพหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีพิธีเข้มงวดเหมือนกับสมัยก่อน

 

เกอิชาถือร่มสีแดงสมัยเรวะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : sanook.com

ถึงตอนนี้แล้วคงได้คำตอบแล้วว่าความหมายของเกอิชาคือ หญิงสาวที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวัฒนธรรมอย่างมากทั้งยังเป็นหญิงสาวที่ต้องมีความอดทนและเพียรพยายามในการเรียนรู้เพื่อทำหน้าที่อันเป็นสีสันที่สวยงามของงานเลี้ยง ทุกขั้นตอนของการฝึกฝนมีความละเอียดและเฉพาะด้านอย่างที่ต้องเจอกับตัวเองเท่านั้นถึงจะสามารถเข้าใจ สมเป็นเสน่ห์อันลึกลับเฉพาะตัวของเกาะญี่ปุ่น ความงามที่มีค่าทางวัฒนธรรมที่ยังคงได้รับความสนใจจากผู้คนตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันและจะยังคงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไป

 

Artralux พร้อมสร้างทริปสุดพิเศษที่จะพาคุณบินลัดฟ้าไปสัมผัสเสน่ห์อันน่าหลงใหลของเกอิชาที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการเดินทาที่งแสนสะดวกสบายด้วยบริการเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว และบริการรถลีมูซีน พร้อมบริการที่พักอันสวยงามหรูหราและการบริการตามความต้องการอื่นๆ ที่เราพร้อมให้บริการ จัดทริปการเดินทางชมเมืองแห่งความงดงามของเกอิชาให้กับคุณและจะเป็นทริปสุดแสน Exculsive ที่คุณจะจดจำไปอีกนาน

 

สนใจติดต่อ Artralux ที่ 02-047-0083 หรือ ผ่านช่องทางไลน์ Line: @Artralux (มี @ นำหน้า)  

📞 | 02-047-0083

💬 | (Line) https://bit.ly/3I9BJ42

 

แอดไลน์เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

เพิ่มเพื่อน

SHARES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า