ไขความลับ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) กลุ่มหินลึกลับของเกาะอังกฤษเหล่านี้มาจากไหน?

สโตนเฮนจ์ 1

 

สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) หรือ กลุ่มก้อนหินขนาดยักษ์ทั้ง 112 ก้อน ที่ถูกตั้งเด่น เป็นสง่า ท่ามกลางทุ่งราบซัลลิสเบอร์รี (Salisbury Plain) ในเมือง วิลต์เชอร์ (Wiltshire) ทางตอนใต้ของเกาะอังกฤษทุ่งหญ้านั้น เป็นหนึ่งใน 7 มหัศจรรย์ของโลก และ เป็นเพียงแค่สิ่งเดียวเท่านั้นที่ยังไม่สามารถหาที่มา การสร้าง จุดประสงค์ในการส้ราง หรือ แม้แต่อายุขัยที่ชัดเจนของเสาหินเหล่านี้ได้ ซึ่งความลึกลับ และ ความน่ามหัศจรรย์ของรูปร่างก้อนหินแต่ละก้อนที่ได้ถูกวางเรียงกันอย่างไม่มีชั้นเชิง บ้างก็วางเป็นแนวนอน แนวตั้ง หรือ วางพาดกัน แต่หากมองจากมุมสูง คือ จำนวนหินที่ถูกนำมากองรวมกัน ในลักษณะวงกลมซ้อนกัน 3 วง ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ต่างเดินทางมายังเกาะอังกฤษ เพื่อที่จะได้ชื่นชมสโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ ให้เห็นด้วยตาของตัวเอง

เชื่อว่าคำถามที่หลายคนสงสัยเกี่ยวกับเจ้ากลุ่มหินก้อนนี้ (สโตนเฮนจ์) คงจะหนีไม่พ้น สโตนเฮจน์อยู่ประเทศอะไร ที่มาของเจ้ากลุ่มหินเหล่านี้ ใครเป็นผู้สร้าง และ เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร ซึ่ง Artralux บริษัทนำเที่ยวชั้นนำ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มก้อนหินสโตนเฮนจ์มาฝากกัน ว่าแล้วอย่ารอช้า เรามาไขความลับไปพร้อมๆ กันเลย!   

แอดไลน์เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

เพิ่มเพื่อน

สโตนเฮนจ์ คืออะไรกันแน่?

 

สโตนเฮนจ์

 

“สโตนเฮนจ์” (Stonehenge) คือ กลุ่มก้อนหินปริศนา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ และ นักโบราณคดีในปัจจุบัน ยังไม่สามารถชี้แจงได้อย่างแน่ชัดถึงแหล่งที่มา และ อายุขัยของของเจ้ากลุ่มหินเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ได้หมายความว่านักโบราณคดี และ นักวิจัยได้หยุดศึกษาเพื่อหาข้อเท็จจริงของกลุ่มหินสโตนเฮนจ์แต่อย่างใด ซึ่งจากการวิจัยก้อนหินด้วยวิธีการวิเคราะห์คาร์บอนกัมมันตรังสีพบว่า หินก้อนแรกได้ถูกวางไว้บนทุ่งหญ้าซัลลิสเบอร์รี (Salisbury Plain) ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,400 – 2,200 ปีก่อนคริสตกาล และ เป็นกลุ่มก้อนหินที่มีแหล่งที่มาจาก ภูเขาพรีเซลี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวลส์ซึ่งมีระยะทางห่างจากก “สโตนเฮนจ์” ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 180 ไมล์ หรือ 289 กิโลเมตร 

 

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 30 ก.ค. 63 ที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับแหล่งที่มาของสโตนเฮนจ์แห่งนี้ โดยนักวิจัยทางภูมิศาษสตร์ของมหาวิทยาลัยไบรก์ตัน ได้ใช้เครื่องมือที่มีเทคนิคสเปกโตรเมตรี (Spectrophotometer) และ เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของหินที่ชื่อว่า “ซาร์เซน (Sarsens)” ซึ่งเป็นหินสูงใหญ่กว่า 9 เมตร หนักกว่า 30 เมตริกตัน หนึ่งในหินของกลุ่มหินสโตนเฮนจ์ และได้พบว่า แท้จริงแล้ว หินก้อนนี้ มีต้นกำเนิดมาจากป่าเวสต์วูดส์ บริเวณชายป่าของทุ่งมาร์โบโร ซึ่งห่างออกไปจากที่ตั้งสโตนเฮนจ์ เพียงแค่ 15 ไมล์ หรือ ประมาณ 25 กิโลเมตรเท่านั้น  แต่สิ่งที่แปลกก็คือ หินซาร์เซน 2 ก้อน จากจำนวน 52 ก้อนของสโตนเฮนจ์ กลับมีแหล่งที่มาคนละที่จากป่าเวสต์วูดส์ จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งสมมุติฐานว่า สโตนเฮนจ์ อาจจะเป็นผลงานของคน 2 กลุ่ม และมีระยะเวลาการสร้างคนละยุคอีกด้วย   

 

สโตนเฮนจ์

 

สิ่งที่นักโบราณคดี และ นักวิทยาศาสตร์กำลังหาคำตอบกันนั้น คือ ข้อสงสัยที่ว่า “ก้อนหินสโตนเฮนจ์ที่มีน้ำหนักมากถึง 30 ตันเหล่านี้ ถูกยกไปวางเรียงกันกลางทุ่งหญ้าได้อย่างไร” ในเมื่อในสมัยอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อนคริสต์ศักราชนั้น ไม่มีเครื่องทุ่นแรงอย่างในปัจจุบัน และที่สำคัญในบริเวณใกล้เคียงกันนั้น ก็ไม่มีการค้นพบหินรูปร่างมหึมาเหล่านี้อยู่เลย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากมากที่ก้อนหินเหล่านี้จะเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งข้อสรุปที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด จึงเป็นการใช้แพเพื่อลำเลียงหินสโตนเฮนจ์เหล่านี้ โดยล่องมาตามชายฝั่งเวลส์ และ แม่น้ำเอวอน (Avon River) นั่นเอง  

 

แอดไลน์เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

เพิ่มเพื่อน

 

ประวัติ ทฤษฎีที่มาของสโตนเฮนจ์ (Stonehenge)

 

สโตนเฮนจ์

 

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีเหตุผลแน่ชัดว่าสโตนเฮนจ์นั้นถูกสร้างขึ้นเพื่ออะไร หรือ วัตถุประสงค์ของสโตนเฮนจ์ในอดีตมีไว้สำหรับใช้ประกอบพิธีอะไร อย่างไรก็ตาม ได้มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ชัดเจนซึ่งบ่งชี้ว่าสโตนเฮนจ์ถูกใช้เป็นสถานที่ฝังศพ หรืออย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน 

 

โดยนักวิชาการ และ นักโบราณคดีหลายท่านเชื่อว่าสโตนเฮนจ์แห่งนี้ อาจจะสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา, เป็นที่พำนักแห่งสุดท้ายของราชวงศ์, เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้แก่บรรพบุรุษ หรืออาจจะมีความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณกับบรรพบุรุษที่อยู่ห่างไกลก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ข้อสันนิษฐานเพียงเท่านั้น เพราะแม้ว่าสโตนเฮนจ์ (Stonehenge) จะถูกสร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับพีระมิด (The great pyramid of Giza) แต่เรารู้เรื่องราวความเป็นมาของพิระมิดมากกว่า ซึ่งทำให้ความลึกลับที่หาคำตอบไม่ได้ของสโตนเฮนจ์ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ Identity ไปเสียแล้ว 

 

อย่างไรก็ตาม ได้มีทฤษฎีถึงที่มาของสโตนเฮนจ์อยู่ดังนี้

  • สร้างเพื่อศึกษาด้านดาราศาสตร์ 

มีความเชื่อว่าสโตนเฮนจ์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนโบราณในสมัยก่อนใช้เป็นสถานที่ศึกษาดาราศาตร์ และ สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็น สุริยุปราคา, จันทรุปราคา, ปรากฏการณ์วันครีษมายัน (วันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุด) และ ปรากฏการณ์วันเหมายัน (วันที่กลางวันสั้นที่สุด) ซึ่งในวันครีษมายัน พระอาทิตย์จะขึ้นเหนือขอบฟ้าบริเวณที่แนวเกือกม้าหันไปพอดี ในขณะที่ในวันเหมายัน พระอาทิตย์จะตกบริเวณกึ่งกลางผ่านช่องของเกือกม้าพอดี ซึ่งการสังเกตการณ์ขึ้น และ ตกดินของพระอาทิตย์นี่เอง ทำให้คนโบราณสามารถคำนวณได้ว่าใน 1 ปี มี 365 วัน และ ฤดูกาลแต่ละฤดูมีช่วงเวลาที่ยาวนานแค่ไหน   

 

  • สร้างเพื่อเป็นที่จอดพาหนะของมนุษย์ต่างดาว 

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า มีข้อสันนิษฐานว่ากลุ่มก้อนหินสโตนเฮนจ์นั้น ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ต่างดาว เพราะมีความเป็นไปได้ยากมากที่คนธรรมดาจะสามารถยกก้อนหินที่มีขนาดใหญ่มหึมา และ มีขนาดหนักกว่า 30 ตันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่ไม่มีเครื่องทุ่นแรง หรือ อุปกรณ์ก่อสร้างใดๆ ดังนั้นตามทฤษฎีเหล่านี้ จึงมีความเป็นไปได้ว่าสโตนเฮนจ์นั้น ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ต่างดาว และจริงๆ แล้วมันเป็นลานจอดยานอวกาศ

 

สโตนเฮนจ์

 

  • สร้างเพื่อเป็นสถานที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บ

มีนักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและดนตรีจากมหาวิทยาลัยฮัดเดอร์ฟิลด์ค้นพบว่า ก้อนหินขนาดมหึมาที่วางซ้อนทับกันเป็นลักษณะวงกลมนั้น สามารถสะท้อนเสียงดนตรีได้เป็นอย่างดี จึงเกิดเป็นอีกหนึ่งทฤษฎีที่ว่าสโตนเฮนจ์นั้น อาจถูกสร้างมาเพื่อให้เป็นสถานที่เล่นดนตรีเพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บในสมัยก่อน โดยใช้หลักการแบบเดียวกันกับเทคโนโลยีกลศาสตร์นาโน 

 

  • สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพ และเป็นอนุสรณ์สถานของชนชั้นสูง 

ทฤษฎีสุดท้าย เป็นทฤษฎีสมมุติฐานวัตถุประสงค์ของการสร้างสโตนเฮนจ์ที่เชื่อถือ และ มีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่าสโตนเฮนจ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีศพของบุคคลสำคัญ และ บุคคลชั้นสูงในสมัยโบราณ ทั้งนี้เนื่องจากมีการขุดบนโครงกระดูกมนุษย์บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ตั้งสโตนเฮนจ์นั่นเอง ซึ่งอายุของโครงกระดูกนั้น ก็มีอายุอยู่ที่ประมาณ 3000 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับอายุของก้อนหินของสโตนเฮนจ์นั่นเอง 

 

การเดินทางไปสโตนเฮนจ์จากลอนดอน 

 

สโตนเฮนจ์

 

ซึ่งมาเที่ยวอังกฤษทั้งที การเดินทางมาเยี่ยมชมความอลังการ และ ความหมัศจรรย์ของสโตนเฮนจ์นับว่าเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในฝันของนักท่องเที่ยวก็ว่าได้ ซึ่งการเดินทางมายังสโตนเฮนจ์จากกรุงลอนดอน เมืองหลวงของประเทศอังกฤษนั้นก็ไม่ได้ยาก โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางโดยรถไฟได้ โดยขึ้นรถไฟจากสถานี Waterloo Station ในกรุงลอนดอน และ เดินทางมาลงที่สถานี Salisbury Station ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 1 ชั่วโมง 30 นาทีเท่านั้น หลังจากนั้น คุณสามารถขึ้นรถบัสประจำทางสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวสโตนเฮนจ์โดยเฉพาะ (Stonehenge Private Bus) เพื่อเดินทางมาลงที่สถานที่ท่องเที่ยวสโตนเฮนจ์ได้เลย โดยจะใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น   

 

นักท่องเที่ยวคนไหนที่กำลังสนใจเดินทางไปท่องเที่ยวที่สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมตัวท่องเที่ยวอย่างไร ท่องเที่ยวช่วงไหนดี ไปพักที่เมืองไหนของประเทศอังกฤษถึงจะเดินทางไปสะดวก หรือ จองตั๋วเครื่องบินของสายการบินไหน และ ในเดือนไหนที่จะคุ้มค่ามากที่สุดนั้น สามารถติดต่อ Artralux ให้เราดูแลคุณได้ ด้วยทีมงานผูัเขี่ยวชาญ ผู้มากด้วยประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกว่า 10 ปี เราสามารถรังสรรค์โปรแกรมท่องเที่ยวสโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ความต้องการของผู้เดินทางได้อย่างไม่มีข้อแม้ และนอกจากสโตนเฮนจ์แล้ว เรายังพาคุณตะลุยแลนด์มาร์กขึ้นชื่ออีกเพียบ รับรองเที่ยวกับ Artralux ไม่ผิดหวังแน่นอน   

 

สนใจติดต่อ Artralux ที่ 02-047-0083 หรือ ผ่านช่องทางไลน์ Line: @Artralux (มี @ นำหน้า)

📞 | 02-047-0083

💬 | (Line) https://bit.ly/3I9BJ42

 

 

แอดไลน์เพื่อวางแผนการท่องเที่ยว

เพิ่มเพื่อน

 

SHARES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า