วีซ่า Non b คืออะไร ยื่นยากไหม ชาวต่างชาติทำงานในไทยต้องใช้วีซ่าอะไร?!

วีซ่า Non b

 

วีซ่า Non b คืออะไร มีขั้นตอนการยื่นอย่างไร ? ทุกคนทราบดีว่า หากคนไทยอย่างเรา ต้องการที่จะไปศึกษาต่อ หรือ ทำงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลานานกว่า 90 วัน เราจะต้องทำการยื่นวีซ่าทำงานของประเทศนั้นๆ แทนการทำวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อรับอนุญาตให้พำนัก และ ทำงานในประเทศนั้นๆ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งในทางตรงกันข้าม สำหรับชาวต่างชาติเอง หากต้องการมาทำงานในไทย การขอ “วีซ่า Non b” และ “ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)” นั้น เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะ วีซ่า Non b และ Work Permit เปรียบเสมือนใบอนุญาต ให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในไทยได้อย่างถูกกฎหมายเป็นระยะอย่างมาก 1 ปี (สามารถต่อวีซ่า Non b ได้) 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศตัวเลือกอันดับต้นๆ ในทวีปเอเชียที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาพำนักระยะยาว ด้วยวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และทำงาน มากที่สุด ซึ่งในทุกๆ ปี ประเทศไทยมักจะติดอันดับ 1 ใน 20 ประเทศที่ชาวต่างชาตินิยมมาทำงานมากที่สุดในเอเชียเสมอ โดยจากผลสำรวจของเว็บไวต์ internations.org (Expat insider) พบว่าในปี 2021 ที่ผ่านมา ประเทศไทยอยู่ในอันดับประเทศที่ 11 จาก 57 ประเทศในทวีปเอเชียที่ชาวต่างชาติมาทำงานมากที่สุด

ดังนั้นวันนี้ Artralux ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขอวีซ่า Non b มาไว้ในบทความเดียว นอกจากนี้เรายังได้รวบรวมเอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b ที่จำเป็น และ ไขข้อสงสัยวีธีการต่อวีซ่า Non b จะมีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อมๆ กันเลย

 

แอดไลน์ สอบถามบริการยื่นวีซ่า

เพิ่มเพื่อน

 

ไขสงสัย วีซ่า Non b คืออะไร ชาวต่างชาติในไทยต้องมีไหม

วีซ่า Non b
ข้อมูลการต่อวีซ่า Non b และ Work Permit

 

ก่อนที่เราจะไปดูขั้นตอนการทำวีซ่า Non b และ เอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b กัน เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าวีซ่า Non b คืออะไร มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร และ บุคคลประเภทใดที่จะต้องทำการขอหรือ ต่ออายุวีซ่า Non b 

 

วีซ่า Non B มีชื่อเต็มๆ ที่ย่อมาจาก วีซ่า Non-Immigrant ประเภท “B” ซึ่งวีซ่าประเภท Non-Immigrant ของไทย เป็นวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ ผู้ที่ไม่ถือสัญชาติไทยที่ต้องการพำนักในประเทศไทยเป็นเวลาชั่วคราว ด้วยวัตถุประสงค์ในการทำงาน ติดต่อทางธุรกิจ หรือ การประชุม ดังนั้น “วีซ่า Non b” จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “วีซ่าธุรกิจ” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-Immigrant วีซ่า

 

ประเภทของวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว (Non Immigrant Visa) ของไทย มีอะไรบ้าง

สำหรับชาวต่างชาติผู้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย หากมีความประสงค์ต้องการพำนักในไทย หรือ ยืดระยะเวลาการพำนักในไทย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทำงาน หรือ ติดต่อทางธุรกิจ จะต้องทำเรื่องขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ของผู้ยื่นได้ดังนี้  

 

  • ประเภท B (วีซ่า Non B) หรือ วีซ่าธุรกิจ : สำหรับผู้ต้องการทำงาน หรือ ติดต่อธุรกิจในไทย
  • ประเภท B-A (วีซ่า Non B – A): สำหรับผู้ต้องการลงทุนกับบริษัทในไทย
  • ประเภท D : สำหรับผู้ทำงานในสถานทูตของประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของประเทศไทย
  • ประเภท ED : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในไทย
  • ประเภท EX : สำหรับผู้ที่ทำงานในไทยซึ่งใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการประกอบการ
  • ประเภท F : สำหรับผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับราชการไทย 
  • ประเภท IB : สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในไทยเพื่อลงทุน
  • ประเภท M : สำหรับตัวแทนสื่อมวลชล
  • ประเภท O-A: สำหรับผู้ต้องการปลดเกษียณในไทย

 

เนื่องจากชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมทำ/ต่อวีซ่า Non b เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะทำความเข้าใจข้อมูล ประเภท วีธีการยื่น และ เอกสารสำคัญตี่างๆ สำหรับยื่นวีซ่า Non b เป็นหลัก 

 

วีซ่า Non B มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีระยะเวลาเท่าไร

อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น วีซ่า Non b เป็นหนึ่งในประเภทวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการทำงาน หรือ ติดต่อทางธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งวีซ่า Non b  สามารถแบ่งประเภทตามลักษณะ และ การใช้งานได้ดังนี้

 

  • วีซ่า Non b แบบเข้าประเทศไทยได้ครั้งเดียว (Single Entry): โดยวีซ่า Non b ประเภทนี้ จะอนุญาตให้พำนักในไทยไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)


  • วีซ่า Non b แบบเข้าประเทศไทยได้หลายครั้ง (Multiple Entry): โดยวีซ่า Non b ประเภทนี้ อนุญาตให้ชาวต่างชาติพำนัก และ ทำงานในไทยเป็นระยะเวลา 1 ปี (ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เป็นแบบ Renewable )

 

โดยวีธี และ ขั้นตอนที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่ใช้ในการทำวีซ่า Non b เพื่อทำงานในประเทศไทยในระยะเวลานานเป็นปีได้นั้น จะเริ่มจากการการยื่นเรื่องของวีซ่า Non b ประเภทเข้าไทยได้ครั้งเดียว (Single Entry) กับทางสถานทูตประเทศไทยของประเทศผู้ยื่น เมื่อทำการยื่นสำเร็จ จากนั้นจึงเดินทางเข้ามายังประเทศไทย และภายในระยะเวลา 90 วันก่อนที่วีซ่าจะหมดอายุ คุณจะต้องเริ่มทำงาน และ ให้ทางบริษัทช่วยดำเนินเรื่องขอใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) ให้ จากนั้นคุณจึงจะขอยื่นวีซ่า Non b ประเภทเข้าไทยหลายครั้ง (Multipil Entry) ซึ่งจะมีอายุ 1 ปี และ สามารถ ต่ออายุได้ในทุกๆ ปีนั่นเอง 

 

บุคคลใดที่ต้องถือวีซ่า Non b เพื่อทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมาย

ชาวต่างชาติที่ต้องการถือวีซ่า Non b นั้น มีอยู่หลายกรณี ได้แก่ 

 

  1. กรณีที่ไม่มีวีซ่า Non b มาก่อน แต่ต้องการมาทำงาน หรือ ติดต่อธุรกิจในไทย ในกรณีนี้จะต้องดำเนินการขอวีซ่า Non b ที่สถานทูตไทยของประเทศผู้ยื่น
  2. กรณีที่เข้ามาในประเทศไทยด้วยวีซ่าท่องเที่ยว, วีซ่าทรานซิท หรือ วีซ่าประเภทอื่นๆ แต่มีความต้องการเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น Non b ชาวต่างชาติสามารถทำเรื่องเปลี่ยนประเภทวีซ่าได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ  
  3. กรณีที่ถือวีซ่า Non b อยู่แล้ว แต่ต้องการต่ออายุ ชาวต่างชาติสามารถทำเรื่องต่อวีซ่า Non b ได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ เช่นกัน

 

แอดไลน์ สอบถามบริการยื่นวีซ่า

เพิ่มเพื่อน

 

รวมเอกสารขอวีซ่า Non b ที่จำเป็น ห้ามขาด! ห้ามเกิน!

วีซ่า Non b
เอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b ที่จำเป็น

 

ก่อนที่คุณจะรวบรวมเอกสารขอวีซ่า Non b นั้น คุณ และ บริษัทของคุณจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม ซึ่งหากคุณสมบัติคุณไม่ตรงกับที่สถานทูต และ กระทรวงแรงงานอนุมัติ เอกสารขอวีซ่า Non b ที่คุณเตรียมมา แม้จะถูกต้องแค่ไหน ก็มีโอกาสที่จะต้องขอยื่นใหม่อีกรอบ โดยคุณสมบัติของผู้ยื่นวีซ่า Non b มีดังนี้ 

 

  • มีใบอนุญาตในการทำงาน (Work Permit) จากกระทรวงแรงงาน (สามารถดูขั้นตอนการยื่น Work Permit ได้ที่นี่)
  • บริษัทที่ทำงานด้วยจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 2 ล้านบาท
  • ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว โดยมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัทมีอัตรส่วนคนต่างชาติ และ คนไทย ในอัตราส่วน 1 ต่อ 4 

 

หลักจากที่มั่นใจว่าคุณสมบัติถูกต้องแล้ว ให้เตรียมเอกสารที่จำเป็น ซึ่งการทำเรื่องเพื่อทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายนั้น ชาวต่างชาติต้องยื่นเอกสารประกอบขอวีซ่า Non b ดังต่อนี้

 

  • แบบฟอร์มคำขอวีซ่า หรือ แบบฟอร์มขอรับการตรวจลงตรา (แบบ ตม.87)
  • รูปถ่ายวีซ่า Non b จำนวน 2 รูป ขนาด 4 x 6 ซม. 
  • หนังสือเดินทาง หรือ Passport ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน พร้อมสำเนา
  • ใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) จากกระทรวงแรงงาน และ วีซ่า Non b เล่มเก่า (ถ้ามี) 
  • หลักฐานทางการเงิน ได้แก่ Bank Statement ที่มีเงินใบบัญชีเทียบเท่าเป็นเงินไทยจำนวน 800,000 บาท และ หนังสือรับรองรายได้ ที่แสดงรายได้ไม่น้อยกว่า 65,000 บาทต่อเดือน 
  • ภ.ง.ด.91 ของคนต่างชาติ  

 

สำหรับการทำงานประเภทธุรกิจ หรือ พนักงานบริษัท

ผู้ยื่นวีซ่า Non b เพื่อทำงานในบริษัท หรือ ประกอบธุรกิจ จะต้องนำเอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b สำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนายจ้างมาด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  1. หนังสือความอนุเคราะห์ออกวีซ่าจากนายจ้างถึงสถานทูต โดยต้องระบุตำแหน่งงาน, เงินเดือน, ระยะเวลาว่าจ้าง และ สำเนาบัตรประชาชนของผู้ลงนาม 
  2. ใบอนุญาตการทำงาน หรือ Workpermit (และใบอนุญาตใบเก่าสำหรับผู้ที่เคยทำงานในไทย)
  3. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงาน และ วุฒิการศึกษา 
  4. สำเนาเอกสารสำคัญของบริษัท ที่แสดงการจดทะเบียนทางธุรกิจ, รายชื่อผู้ถือหุ้น, รายละเอียดการดำเนินธุรกิจ, และ จำนวนชาวต่างชาติที่ทำงานให้แก่บริษัทนั้นๆ  

 

เอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b สำหรับแต่ละอาชีพ

 

สำหรับงานประเภทครู หรือ อาจารย์

ผู้ยื่นวีซ่า Non b สำหรับอาชีพครู หรือ อาจารย์ จะต้องนำเอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b ซึ่งจะแตกต่างจากอาชีพพนักงาน หรือ ผู้ประกอบการเล็กน้อย โดยมีรายการเอกสารดังนี้

  1. หนังสือจากสถานบันการศึกษาขอความอนุเคราะห์ให้ออกวีซ่าถึงสถานทูต พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้ลงนาม
  2. หนังสืออนุมัติจากหน่วยงานการศึกษาที่ทางสถาบันการศึกษาของท่านได้สังกัดอยู่ เช่น หนังสือจากกระทรวงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นต้น
  3. สัญญาจ้าง
  4. เอกสารตรวจสอบอาชญากรรม ออกโดยหน่วยงานที่ประจำในประเทศของผู้ยื่น
  5. หลักฐานแสดงประสบการณ์การทำงาน และ วุฒิการศึกษา 
  6. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนการศึกษา
  7. หนังสือแต่งตั้งผู้อำนวยการของสถาบันการศึกษา

 

ในส่วนของค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า Non b จะมี 2 ราคาด้วยกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของวีซ่าที่คุณทำเรื่องยื่น โดยค่าธรรมเนียมสำหรับวีซ่า Non b ประเภท Single Entry จะอยู่ที่ ราคา 2,000 บาท ในขณะที่ประเภท Multiple Entry จะอยู่ที่ 5,000 บาท

 

หากมีวีซ่า Non b แต่ไม่มี Work Permit ทำงานในไทยได้ไหม?

 

ขั้นตอนการขอวีซ่า Non b และ Work Permit

 

หลังจากที่คุณได้รับวีซ่า Non b หรือ Non-Immigration Visa Business (Visa Non-B) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ได้หมายว่าคุณจะเริ่มทำงานในประเทศไทยได้เลยทันที การจะทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายนั้น คุณจะต้องมีใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) ควบคู่กันกับวีซ่า Non b ด้วย

ซึ่งขั้นตอนในการทำเรื่องร้องขอใบอนุญาตในการทำงาน หรือ Work Permit มักจะเริ่มดำเนินการหลังจากที่คุณได้รับวีซ่า Non b จากสถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ หรือ จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเมื่อคุณได้ถือวีซ่า Non b แล้ว ให้คุณรีบทำเรื่องขอ Work Permit กับกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงานก่อนที่อายุวีซ่า Non b จะหมดอายุอย่างน้อย 45-60 วัน โดยแนะนำว่าหากได้รับวีซ่า Non b เรียบร้อยแล้ว ให้รีบยื่น เพราะระยะเวลาในการพิจารณา และ การจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ค่อนข้างใช้เวลา

วีซ่า Non b หมดอายุเมื่อไร และ อายุของ Work Permit เป็นยังไง

วันที่วีซ่า Non b หมดอายุ แตกต่างกันตามประเภทของวีซ่าที่คุณยื่น โดยวีซ่าแบบ Single Entry จะมีอายุวีซ่า 3 เดือน (90 วัน) ในขณะที่ วีซ่าแบบ Multiple Entry จะมีอายุ 12 เดือน (สามารถทำเรื่องต่อวีซ่าได้) 

นอกจากข้อสงสัยที่ว่าวีซ่า Non b หมดอายุเมื่อไรแล้ว ในส่วนของใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) นั้น จะมีอายุตั้งแต่ 3-6 เดือน จนถึง 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และ การพิจารณาของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน (ซึ่งหากคุณขอ Work Permit เป็นครั้งแรก ส่วนใหญ่ทางกระทรวงแรงงานจะให้อายุ Work Permit ประมาณ 3-6 เดือน)

หากคุณได้ใบอนุญาตการทำงาน (Work Permit) เรียบร้อยแล้ว แนะนำให้รีบไปต่อวีซ่า Non b จาก 3 เดือน (Single Entry) เป็นแบบอายุ 1 ปี (Multiple Entry) ทันที เพื่อที่คุณจะสามารถทำงานในประเทศไทยได้ในระยะยาว และ ไม่มีปัญหาค่ะ 

ชาวต่างชาติท่านไหน หรือ หน่วยงาน และ องค์กรที่ใด ที่มีความประสงค์ให้บุคลากรของคุณสามารถจะทำงานในประเทศไทยได้อย่างไร้กังวล และ ถูกต้องตามกฎหมาย แต่พบว่าขั้นตอนการทำ และ ต่อวีซ่า Non b ค่อนข้างมีความซับซ้อน และ ต้องใช้เอกสารประกอบการขอวีซ่า Non b ที่ต้องติดต่อหลายฝ่าย ทาง Artralux เรามีบริการต่อ/ ขอวีซ่า Non b พร้อมกับทำเรื่องร้องขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ในที่เดียว 

ด้วยทีมงานมากด้วยประสบการณ์ เราพร้อมที่จะดำเนินการ จัดเตรียมเอกสาร และ เดินทางไปยื่นเอกสารกับคุณ เราจะคอยให้คำปรึกษา แนะนำ และ ช่วยเหลือ จนกว่าคุณจะได้รับวีซ่า Non b และ ใบอนุญาตการทำงานสำเร็จ

หากสนใจติดต่อ Artralux ที่ 02-047-0083 หรือ ผ่านช่องทางไลน์ Line: @Artralux (มี @ นำหน้า)  

📞 | 02-047-0083

💬 | (Line) https://bit.ly/3I9BJ42  

 

 

แอดไลน์ สอบถามบริการยื่นวีซ่า

เพิ่มเพื่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตัอวย่างหนังสือรับรองการทำงานขอวีซ่า

ขอวีซ่าไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร

SHARES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ของเรา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว บันทึกการตั้งค่า